ประวัติสถานศึกษา

ความหมาย ตราประจำวิทยาลัยศึกษาพิจิตร

เสมาธรรมจักร หมายถึง ความดีงาม
– บัลลังก์สิงห์ หมายถึง ความมั่นคง
– ศิระประภา (รัศมีเปลวพระพุทธรูป) ใต้เสมาธรรมจักร หมายถึง แสงสว่างแห่งปัญญา
– ตัวเลข ๑ (ในรัศมีเปลว) หมายถึง ความล้ำเลิศแห่งปัญญา
– ดอกบัวที่บานพ้นน้ำ (ด้านข้างทั้งสอง) หมายถึงการเกิดปัญญา
– กนกเปลว (ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากเปลวไฟ) หมายถึง ความสว่างไสว โชติช่วงตลอดเวลา
– อักษร ทุ.ส.นิ.ม. (ด้านล่างย่อมาจาก องค์ประกอบของอริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) หมายถึงความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ
– เส้นโค้งโดยรอบ มีอักษร “วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิจิตร” ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ความหมายรวมของตราสัญลักษณ์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิจิต คือความล้ำเลิศทางปัญญาตั้งอยู่บนรากฐานที่มั่นคงและดีงาม โอบล้อมด้วยความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคและความสว่างไสวโชติช่วงของปัญญา ที่ได้รับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง

ประวิติและความเป็นมา

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิจิตร จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน  2525 ภายใต้ชื่อ “โรงเรียนสารพัดช่างพิจิตร”  จัดการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อ ภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2527 ในหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 225 ชั่วโมง  ให้กับประชาชนทั่วไป

ต่อมาเมื่อวันที่  7  มิถุนายน  2534   กระทรวงศึกษาธิการ ยกฐานะ โรงเรียนสารพัดช่าง  เป็น วิทยาลัยสารพัดช่าง “โรงเรียนสารพัดช่างพิจิตร” จึงเป็น “วิทยาลัยสารพัดช่างพิจิตร” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรระยะสั้น  30 – 225 ชั่วโมงและ หลักสูตรระยะสั้นในรายวิชาที่หลากหลาย

จนถึงการปรับเปลี่ยนบทบาทครั้งสำคัญใน ปีการศึกษา 2537  ได้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  และเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในปีการศึกษา 2542

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 มีการเปลี่ยนชื่อจาก วิทยาลัยสารพัดช่างพิจิตร เป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิจิตร โดยการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ การเปลี่ยนชื่อสถานศึกษา  โดยนางสาวตรีนุช เทียนทอง  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาธิการเป็นผู้ลงนาม และให้นายบุญชอบ โพธิ์ประเสริฐ เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิจิตร

ขนาดและที่ตั้ง

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิจิตร ตั้งอยู่ เลขที่ 316  ถนนบุษบา  ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร  เป็นที่ดินของราชพัสดุ  มีเนื้อที่ทั้งหมด 6  ไร่  อยู่ห่างจากศูนย์ราชการจังหวัดพิจิตร  ระยะทาง 3  กิโลเมตร 

มีอาณาเขตติดต่อกับสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้                  

ทิศเหนือ     ติดต่อกับ    แม่น้ำน่าน 
ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ  โรงเรียนอนุบาลท่าหลวงสงเคราะห์                 
ทิศใต้          ติดต่อกับ    ถนนบุษบา  ตำบลในเมือง                  

ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ    วัดท่าหลวง พระอารามหลวง                    พื้นที่  6  ไร่ ประกอบด้วยอาคารเรียน 4 ชั้น  จำนวน 3 อาคาร  โรงฝึกงาน จำนวน 2 หลัง (แผนกวิชาช่างยนต์ แผนกวิชาช่างเขื่อมโลหะ และแผนกวิชาช่างก่อสร้าง) แฟลตพักครู 4 ชั้น 14 หน่วย จำนวน 1 หลัง  บ้านพักครู จำนวน 2 แถว บ้านพักผู้อำนวยการ จำนวน 1 หลัง  โรงจอดรถ จำนวน 2 โรง และอาคารศูนย์วิทยบริการ จำนวน 1 หลัง